วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 3 การวัดด้านพุทธพิสัย (Cognitive Domain)



การวัดด้านพุทธิพิสัย(Cognitive Domain)
        การวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย จะใช้ข้อสอบต่างๆเป็นเครื่องมือวัด ส่วนจะใช้ข้อสอบชนิดใด ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการวัดนั้น
ข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย
         
Bloom  และคณะได้แบ่งพฤติกรรมทางพุทธิพิสัยออกเป็น 6 ขั้นตอน โดยเรียงจากพฤติกรรมต่ำสุดถึงสูงสุด และพฤติกรรมแต่ละขั้นมีวิธีการเขียนข้อสอบวัดดังนี้
1. ความรู้ความจำ (Knowledge) หมายถึงความสามารถในการระลึกถึงเรื่องราวต่างๆ ที่เคยประสบมา โดยที่เรื่องราวนั้นอาจได้มาจากที่ใดที่หนึ่งก็ได้ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
          1.1 ความรู้ในเนื้อเรื่อง เป็นคำถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ในเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ได้แก่
                  
- ความรู้เกี่ยวกับศัพท์และนิยาม เช่น ความหมายของศัพท์ นิยาม  คำแปล  ความหมาย  ชื่อ  อักษรย่อ  สัญลักษณ์  รูปภาพ และเครื่องหมายต่างๆ
                  
- ความรู้เกี่ยวกับกฎและความจริง เช่น การถามสูตร การถามเนื้อเรื่อง ถามขนาด ถามจำนวน
          1.2 ความรู้ในวิธีดำเนินการ ได้แก่ วิธีประพฤติปฏิบัติและวีดำเนินการในกิจการงานและเรื่องราว ได้แก่
                  
- ความรู้เกี่ยวกับแบบแผนธรรมเนียมประเพณี ได้แก่ วิธีประพฤติปฏิบัติตามระเบียบแบบแผน และ ธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ตามที่สังคมได้ตกลงกัน
                  
- ความรู้เกี่ยวกับลำดับขั้นและแนวโน้ม ได้แก่ การถามเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน –หลังว่ามีลำดับเป็นอย่างไร
                  
- ความรู้เกี่ยวกับการจัดประเภท ได้แก่ ความสามารถในการจำแนกวัตถุสิ่งของ หมวดหมู่ และรูปร่าง
                  
- ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ ได้แก่ การตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ
                  
- ความรู้ในวิธีการดำเนินการ ได้แก่ การวัดถึงวิธีปฏิบัติงาน ด้านต่างๆ ว่าปฏิบัติตามที่ผู้สอนไว้ได้หรือไม่
         
1.3
ความรู้รวบยอดในเนื้อเรื่อง  คือ  การนำเอาสมรรถภาพ  ชนิดมารวมกัน ได้แก่
                  
- ความรู้เกี่ยวกับหลักวิชาและการขยายหลักวิชา ทำได้โดยอาจตั้งคำถามในลักษณะให้บอกคติหรือหัวใจที่เป็นวิชาของเรื่องนั้น
                  
- ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและโครงสร้าง ทำได้โดย ตั้งคำถามหลักจากของหลายสิ่ง หลายเนื้อหาที่สัมพันธ์กันเป็นพวกเดียวกัน
ตัวอย่างข้อสอบ
หน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดในระบบคอมพิวเตอร์เรียกว่า อะไร
?
          ก. บิต
          ข. ไบต์
          ค. ฟิลด์
          ง. เร็คคอร์ด 
2. ความเข้าใจ (Comprehension)

ตัวอย่างข้อสอบ

หากนักเรียนต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นระบบเครือข่ายไม่เกินสองเครื่อง นักเรียนจะเลือกใช้อุปกรณ์ใดเพื่อใช้ในการเชื่อมต่อ
          ก. การ์ดแลนและสายสัญญาณ                        ข. การ์ดแลนและฮับ
          ค. ฮับและสายสัญญาณ                                ง. สวิตซ์และฮับ

3. การนำไปใช้ (Application) 

ตัวอย่างข้อสอบ
เลขฐานสองค่า 11101.101 เขียนเป็นเลขฐานสิบได้อย่างไร
          ก. 236                                        ข. 237
          ค. 472                                        ง. 474

4. การวิเคราะห์ (Analysis) คือ ความสามารถในการแยกสิ่งสำเร็จรูปออกมาเป็นส่วนย่อยๆตามหลักและกฎที่กำหนดให้เพื่อหาความจริง แยกเป็นสามขั้น
         
4.1 วิเคราะห์ความสำคัญ เช่น ให้หาความเด่นชัดของข้อความ ให้จำแนกประเภท
         
4.2 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ เช่น ค้นหาความเกี่ยวข้องของคุณลักษณะใดๆ
         
4.3 วิเคราะห์หลักการ เช่น ค้นหาโครงสร้างองระบบของวัตถุสิ่งของ
ตัวอย่างข้อสอบ
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ใดมีความสำคัญเรื่องการแสดงผลภาพ
          ก
. RAM                                        . CPU
          ค. ROM                                       . Graphic Card

5. การสังเคราะห์ (Synthesis) เป้นความสามารถในการรวม หรือผสมของตั้งแต่สองสิ่งเป็นอย่างน้อยเข้าด้วยกัน จนกลายเป็นส่งสำเร็จรูปชิ้นใหม่แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

ตัวอย่างข้อสอบ
วิธีอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ดี คือการปลูกป่าและไม่ทำลายป่า แต่จะให้ได้ผลดีต้องเปลี่ยนลักษณะนิสัยที่เกี่ยวกับอะไร
?
          ก. ค่านิยม                                     ข. การเสียสละ
          ค
. การใฝ่รู้                                    ง. การมีวินัย


6. การประเมินค่า (Evaluation) หมายถึงความสามารถในการตัดสิน ตีราคา โดยอาศัยเกณฑ์ และมาตรฐานที่วางไว้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

ตัวอย่างข้อสอบ
การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน ควรพิจารณาอย่างไร
          ก
. พิจารณาความเหมาะสมของลักษณะงานกับซอฟต์แวร์ที่เลือก                          
          ข
. พิจารณาความสามารถของโปรแกรม
          ค. พิจารณาบริการหลังการขาย                      
          ง
. พิจารณาราคาที่ต่ำที่สุด






















































วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธิปัญญา

INSIDE OUT

Inside Out: มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง เป็นภาพยนตร์ในรูปแบบ Animation โดยผู้กำกับเจ้าของรางวัลออสการ์ พีท ด็อกเตอร์ (Pete Docter) โดยผลงานเรื่องนี้ของเขา จะนำความรู้สึกของเราทุกคนออกมา ผ่านตัวละครเด็กหญิง ไรลีย์ที่จะต้องเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงเพื่อเติบโตอย่างแท้จริง โดยมีเจ้าอารมณ์ 5 ตัว ในสมองคอยควบคุมให้ทุกอย่าง
1.      Joy (ลั้ลลา) ตัวแทนแห่งความสุข ผู้มีมาพร้อมร้อยยิ้มกว้างและเรื่องสนุกสนาน


2.      Anger (ฉุนเฉียว) ตัวแทนของความรู้สึกโกรธ ผู้มาพร้อมกับไฟบนหัวยามเมื่อรู้สึกโมโหจัด


3.      Disgust (หยะแหยง) ตัวแทนของความรู้สึกรังเกียจ อารมณ์ที่จะแสดงออกถึงความไม่พอใจ มีหน้าที่ป้องกันไรลีย์ทางร่างกายและสังคม


4.      Fear (กลั๊วกลัว)  ตัวแทนแห่งความรู้สึกกลัว มีหน้าที่ควบคุมความปลอดภัยให้กับไรลีย์
  

5.      Sadness (เศร้าซึม) ตัวแทนของความรู้สึกโศกเศร้า



          เรื่องราวของ ไลลีย์ เด็กหญิงวัย 11 ปี ที่เติบโตขึ้นมาในชีวิตแบบตะวันตกตอนกลาง ในเนื้อเรื่องความทรงจำหลักต่างๆ จะส่งผลต่อบุคลิกภาพของไลลีย์ และมีเหตุผลทำให้บุคลิภาพของไรลีย์เปลี่ยนไปเมื้อเธอ จำต้องย้ายบ้านตามพ่อแม่มายังเมืองซาน ฟรานซิสโก หลังจากพ่อของต้องมาเริ่มงานที่ใหม่ ณ เมืองที่ไรลีย์ไม่คุ้นเคย ชีวิตของไรลีย์ต้องเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง เธอต้องปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ที่แตกต่างออกไปจากเดิม และต้องเผชิญกับอารมณ์มากมายที่เข้ามาหลังจากการเปลี่ยนแปลงชีวิตครั้งนี้ของเธอ จนนำมาสู่การแสดงออกทาง อารมณ์ต่างๆ ทั้ง 5 ได้แก่ ความสุข Joy (ลั้ลลา), ความกลัว Fear (กลั๊วกลัว),ความโกรธ Anger (ฉุนเฉียว), ความน่ารังเกียจ Disgust (หยะแหยง)  และความเศร้า กลั๊วกลัว (Sadness) เมื่ออารมณ์ทั้งหมด ล้วนอาศัยอยู่ในศูนย์บัญชาการใหญ­่ ภายใต้การควมคุมของจิตใจไรลีย์  กลไกทางอารมณ์ของไรลีย์ กลไกอารมณ์ของไรลีย์เริ่มมีปัญหา เมื่อ Joy (ลั้ลลา) พยายามปิดกั้นไม่ให้ความเศร้าจาก Sadness (เศร้าซึม) ได้สัมผัสไรลีย์ จนทำให้ความทรงจำหลักของไรลีย์ Joy (ลั้ลลา) และ Sadness  หลุดเข้าไปกำแพงแห่งความทรงจำอันกว้างใหญ่ จนกลายเป็นเรื่องราวสุดยุ่งเหยิงในการพาความทรงจำหลักกลับสู่ศูนย์ควบคุมอารมณ์ และการหลุดเข้าไปในกำแพงแห่งความทรงจำครั้งนี้ทำให้ Joy (ลั้ลลา)รู้ว่าความเศร้ามันไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด และทำให้ Joy (ลั้ลลา) สามารถแก้ปัญหาในเหตุการณ์ครั้งนี้ได้

สิ่งที่ได้จากการดู Inside out
         
มนุษย์ทุกคนล้วนแล้วแต่มีอารมณ์เยอะแยะต่างๆมากมาย มีทั้ง ความสุข ความกลัว ความโกรธ ความน่ารังเกียจ และความเศร้า ความรู้สึกเหล้านี้ล้วนแล้วแต่เกิดจากสิ่งเร้าหรือสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัวเราที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นเหล้านั้นนำไปเก็บไว้ในความทรงจำของเรา และความทรงจำเหล้านั้นจะอยู่กับเราได้นานแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าความทรงจำนั้นสำคัญกับชีวิตเราที่ทำให้เรานึกถึงได้เสมอ ทำให้ความทรงจำเหล่านั้นไม่ถูกลบเลือนไป

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
1. ทฤษฎีพัฒนาการเชาว์ปัญญาของเพียเจต์
          เพียเจต์เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและโดยธรรมชาติมนุษย์จะเป็นผู้พร้อมที่จะมีกริยากรรม หรือเริ่มกระทำก่อน
          ซึ่งจะเหมือนตอนที่ไรลีย์แรกเกิด ถึงตอนไรยังเป็นเด็ก ไรลีย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดแล้อม โดยประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวอวัยวะต่างๆของร่างกาย และตอนที่ไรลีย์
11 ปี ไรลีย์เริ่มจะมีความคิดและมีอารมณ์ที่มากมายขึ้น

2. ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของบรูเนอร์
          บรูเนอร์เชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งนำไปสู่การค้นพบ และการแก้ปัญหา เรียกว่า การเรียนรู้โดยการค้นพบ

          ซึ่งเหมือนกับ ไรลีย์ เธออยู่ที่ มินิโซต้า ซึ่งธรรมชาติของที่นั้นมีอากาศหนาวและมีฮิมะตกที่นั้นมีน้ำแข็งมากจึงทำให้เธอได้เล่นกีฬาฮอกกี้ และชื่นชอบการเล่นกีฬาชนิดนี้ เมื่อเธอย้ายมาอยู่สถานที่ใหม่กับเพื่อนใหม่ๆเธอต้องเล่นฮอกกี้อีกครั้งกับเพื่อนใหม่ ในใจล้วนเกิดความกลัวลังเลและเศร้า ลั้นลาจึงพยายามแก้ปัญหาโดยนำภาพความทรงจำที่ดีเกี่ยวกับตอนเล่นฮอกกี้กับเพื่อนๆที่บ้านเก่า เพื่อให้ไรลีย์มีความสุขกับการเล่นฮอกกี้อีกครั้ง


3.  ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของออซูเบล
          ออซูเบลได้ให้ความหมายของการเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยผู้เรียนเห็นความสำสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนรู้กับโครงสร้างทางปัญญาที่เก็บไว้ในความทรงจำและจะสามารถนำมาใช้ในอนาคต การเรียนรู้แบบนี้เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้เชื่อมโยงสิ่งที่จะเรียนรู้ใหม่หรือข้อมูลใหม่กับความรู้เดิมที่มีมาก่อนที่มีโครงสร้างในสติปัญญาของผู้เรียนมาแล้ว
          ซึ่งทฤษฎีนี้สอนคลองกับ ความททรงจำของไรลีย์ ที่เรียนรู้สิ่งต่างๆมาแต่ละช่วงเวลาของชีวิต เมื่อเขาพบเจอสิ่งเหล่านั้นใหม่อีกครั้งไรลีย์ก็จะสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตกับปัจจุบันได้

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behavioral Theories)
การเรียนรู้ตามแนวคิดกลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมนิยม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากประสบการที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรือจากการฝึกหัดงาน ดังนั้นความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนจึงเป็นรากฐานสำคัญของการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก  (Classical Conditioning Theory)
1. แนวคิดของพาฟลอฟ  (Pavlov)
          การวางเงื่อนไขเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่เราต้องการวางเงื่อนไข (เสียงกระดิ่งกับการตอบสนองที่ต้องการให้เกิดขึ้น (น้ำลายไหล)


           2. แนวคิดของวัตสัน (Watson)
                  วัตสันได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกกับมนุษย์โดยศึกษาเรื่องความกลัว ตัวอย่างเช่น


           ต่อมาจิตแพทย์โวเพ ได้นำวิธีการนี้มาใช้รักษาคนไข้ที่มีความกลัวในสิ่งแปลกๆ


ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ (Operant Conditioning Theory)
          1. แนวคิดของธอร์นไดค์ 
          
การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ที่เรียกว่า S-R Model อีกทั้งให้ความสำคัญต่อการเสริมแรง ที่จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงและการตอบสนองที่เพิ่มมากขึ้น โดยเน้นการให้รางวัลมากกว่าการลงโทษ ตัวอย่างเช่น
            1. จับแมวใส่ไว้ในกล่องที่มีสลักปิดไว้ และนำอาหารใส่จานวางไว้นอกกรง
            2. แมวจะได้กินอาหารหาสามารถถอดสลักประตูออกมาได้
            3. แมวพยามหาทางออกแต่บังเอิญไปจับถูกสลักสามารถเปิดประตูออกมาได้กินอหาร
            4. จากนั้นแมวเริ่มใช้เวลาน้อยลงในการหาทางออกมากินอาหาร

ซึ่งธอร์นไดค์ เรียกการเรียนรู้แบบนี้ว่า การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก ไม่ใช้การใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหา
          2. แนวคิดของสกินเนอร์
          แนวคิดของสกินเนอร์คิดว่าการเชื่อมโยงจะเกิดขึ้น ระหว่างรางวัลกับการตอบสนอง ตัวอย่างเช่น

         และสกินเนอร์ได้เสนอแนะว่า การเสริมแรงเป็นสิ่งที่สำคัญในการเรียนรู้ ซึ่งได้กล่าวว่า การกระทำไดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรง จะมีแนวโน้มที่ทำให้เกิดการกระทำนั้นอีก ส่วนการกระทำใดที่ไม่มีการเสริมแรงย่อมมีแนวโน้มที่จะทำให้ความถี่ของการกระทำนั้น ค่อยๆหายไปและหายไปในที่สุด





วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

การบ้าน บทที่1 นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา


1. MOOCs (Massive Open online Courses) ถือเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาประเภทใด เพราะอะไร
ตอบ ถือเป็นนวัตกรรมทางการศึกษา เพราะตอบสนองการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง  และเป็นการนำเอานวัตกรรมแบบใหม่ๆ มาเป็นส่วน หนึ่งในการจัดการเรียนการสอน โดนการเรียนผ่านเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ต
2. ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาแบ่งออกได้กี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีอย่างไร
ตอบ 5 ประเภท            
1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร ข้อดี เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตร ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอนบุคลให้มากขึ้น
นวัตกรรมการเรียนการสอน ข้อดี เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธี
การสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน
3. นวัตกรรมสื่อการสอน ข้อดี  สนับสนุนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยี โทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย 
4. นวัตกรรมการประเมินผล ข้อดี เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา
5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ ข้อดี ใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการตัดสินใจผู้บริหารสถานศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

3. สมมติว่านักศึกษาไปเป็นครูประจำการ นักศึกษาจะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาใดเข้ามาช่วยในการจัดการในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) ของผู้เรียนที่นักศึกษาได้ไปสอนและเพราะเหตุใดจึงเลือกนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษานั้น
ตอบ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI) เพราะเป็นสื่อการเรียนการสอนที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ง่ายต่อการเรียนรู้ และช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และทำความเข้าใจด้วยตนเอง สามารถทบทวนบทเรียนย้อนหลังได้ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง

4. ทำไมนักศึกษาวิชาชีพครู จึงต้องเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
ตอบ ปัจจุบันนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการ เข้ามามีบทบาทในชีวิตมาขึ้น  และเป็นสิ่งที่สามารถนำมาพัฒนาเกี่ยวกับทางด้านการเรียนการสอน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและช่วยแก้ปัญหาทางด้านการเรียนการสอนของผู้เรียนได้ง่ายขึ้น

5. นักศึกษายกตัวอย่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบันพร้อมอธิบายข้อดีและข้อจำกัด ของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษานั้นๆมา 1 ประเภท
ตอบ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยสอน Computuer Assisted Instrution : CAI
ข้อดีของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.คอมพิวเตอร์จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนให้แก่ผู้เรียน เนื่องจากการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์นั้นเป็นประสบการณ์ที่แปลกและใหม่
2.การใช้สี  ภาพลายเส้นที่แลดูคล้ายเคลื่อนไหว  ตลอดจนเสียงดนตรี  จะเป็นการเพิ่มความเหมือนจริงและเร้าใจผู้เรียนให้เกิดความอยากเรียนรู้  ทำแบบฝึกหัด  หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้  เป็นต้น
3.ความสามารถของหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยในการบันทึกคะแนนและพฤติกรรมต่างๆ  ของผู้เรียนไว้เพื่อใช้ในการวางแผนบทเรียนขั้นต่อไปได้
4.ความสามารถในการเก็บข้อมูลของเครื่อง  ทำให้สามารถนำมาใช้ในลักษณะของการศึกษารายบุคคลได้เป็นอย่างดีโดยสามารถกำหนดบทเรียนให้แก่ผู้เรียนแต่ละคนและแสดงผลความก้าวหน้าให้เห็นได้ทันที
5.ลักษณะของโปรแกรมบทเรียนที่ให้ความเป็นส่วนตัวแก่ผู้เรียน เป็นการช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้า สามารถเรียนไปตามความสามารถของตนโดยเฉพาะอย่าง  ไม่รีบเร่งโดยไม่ต้องอายผู้อื่น  และไม่ต้องอายเครื่องเมื่อตอบคำถามผิด
6.เป็นการช่วยขยายขีดความสามารถของผู้สอนในการคบคุมผู้เรียนได้อย่างใกล้ชิดเนื่องจากสามารถบรรลุข้อมูลได้ง่ายและสะดวกในการนำมาใช้
ข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.ถึงแม้ว่าขณะนี้ราคาเครื่องคอมพิวเตอร์และค่าใช้จ่ายต่างๆ  เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จะลดลงมากแล้วก็ตาม  แต่การที่จะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในวงการศึกษาในบางสถานที่นั้นจำเป็นต้องมีการพิจารณากันอย่างรอบคอบเพื่อให้คุ้มกับค่าใช้จ่ายตลอดจนการดูแลรักษาด้วย
2.การออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการเรียนการสอนนั้นนับว่ายังมีน้อยเมื่อเทียบกับการออกแบบโปรแกรมเพื่อใช้ในวงการด้านอื่นๆ ทำให้โปรแกรมบทเรียนการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีจำนวนและขอบเขตจำกัดที่จะนำมาใช้เรียนในวิชาต่างๆ
3.เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์เป็นการวางโปรแกรมบทเรียนไว้ล่วงหน้า จึงมีลำดับขั้นตอนในการสอนทุกอย่างตามที่วางไว้  ดังนั้น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  จึงไม่สามารถช่วยในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้
4.ผู้เรียนบางคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่  อาจจะไม่ชอบโปรแกรมที่เรียนตามขั้นตอนทำให้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ได้