ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behavioral Theories)
การเรียนรู้ตามแนวคิดกลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมนิยม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากประสบการที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรือจากการฝึกหัดงาน ดังนั้นความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนจึงเป็นรากฐานสำคัญของการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory)
1. แนวคิดของพาฟลอฟ (Pavlov)
การวางเงื่อนไขเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่เราต้องการวางเงื่อนไข (เสียงกระดิ่ง) กับการตอบสนองที่ต้องการให้เกิดขึ้น (น้ำลายไหล)
การวางเงื่อนไขเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่เราต้องการวางเงื่อนไข (เสียงกระดิ่ง) กับการตอบสนองที่ต้องการให้เกิดขึ้น (น้ำลายไหล)
2. แนวคิดของวัตสัน (Watson)
วัตสันได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกกับมนุษย์โดยศึกษาเรื่องความกลัว ตัวอย่างเช่น
ต่อมาจิตแพทย์โวเพ ได้นำวิธีการนี้มาใช้รักษาคนไข้ที่มีความกลัวในสิ่งแปลกๆ
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ (Operant Conditioning Theory)
1. แนวคิดของธอร์นไดค์
การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ที่เรียกว่า S-R Model อีกทั้งให้ความสำคัญต่อการเสริมแรง ที่จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงและการตอบสนองที่เพิ่มมากขึ้น โดยเน้นการให้รางวัลมากกว่าการลงโทษ ตัวอย่างเช่น
การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ที่เรียกว่า S-R Model อีกทั้งให้ความสำคัญต่อการเสริมแรง ที่จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงและการตอบสนองที่เพิ่มมากขึ้น โดยเน้นการให้รางวัลมากกว่าการลงโทษ ตัวอย่างเช่น
1. จับแมวใส่ไว้ในกล่องที่มีสลักปิดไว้ และนำอาหารใส่จานวางไว้นอกกรง
2. แมวจะได้กินอาหารหาสามารถถอดสลักประตูออกมาได้
3. แมวพยามหาทางออกแต่บังเอิญไปจับถูกสลักสามารถเปิดประตูออกมาได้กินอหาร
4. จากนั้นแมวเริ่มใช้เวลาน้อยลงในการหาทางออกมากินอาหาร
ซึ่งธอร์นไดค์ เรียกการเรียนรู้แบบนี้ว่า การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก ไม่ใช้การใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหา
2. แนวคิดของสกินเนอร์
แนวคิดของสกินเนอร์คิดว่าการเชื่อมโยงจะเกิดขึ้น ระหว่างรางวัลกับการตอบสนอง ตัวอย่างเช่น
และสกินเนอร์ได้เสนอแนะว่า การเสริมแรงเป็นสิ่งที่สำคัญในการเรียนรู้ ซึ่งได้กล่าวว่า “การกระทำไดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรง จะมีแนวโน้มที่ทำให้เกิดการกระทำนั้นอีก ส่วนการกระทำใดที่ไม่มีการเสริมแรงย่อมมีแนวโน้มที่จะทำให้ความถี่ของการกระทำนั้น ค่อยๆหายไปและหายไปในที่สุด”
เยี่ยมค่ะเข้าใจมากขึ้น
ตอบลบ